ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
---|
มาตรา 597 ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับมอบการที่ทำนั้นแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ส่งมอบเนิ่นช้า
|
คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2552 การที่จำเลยที่ 1 รับมอบงานงวดที่ 14 และที่ 15 ทั้งที่ระยะเวลาก่อสร้างสิ้นสุดแล้วและให้โจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 16 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายต่อไป ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสำคัญ ทั้งมีงานที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำนอกเหนือสัญญาด้วย จึงเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบงานล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามสัญญานี้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีเจตนาให้ระงับกันไปไม่ถือเป็นการผิดสัญญา จึงทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ส่งมอบงานพ้นกำหนดเวลาสิ้นสุดตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม และมาตรา 597
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2533 คณะกรรมการตรวจการจ้างที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ก.ผู้ว่าจ้างตั้งขึ้นเพื่อตรวจรับมอบงานที่โจทก์ได้ทำตามสัญญาจ้างว่าถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ แล้วเสนอไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก. นั้น ไม่มีอำนาจในการที่จะสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ก.ซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจที่จะรับมอบงานจากโจทก์หรือไม่ เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก.ได้เรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญาโดยหักจากเงินค่าจ้างแสดงว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก.หาได้ยอมรับมอบงานโดยมิได้อิดเอื้อน อันจะทำให้โจทก์พ้นจากความรับผิดในการส่งมอบเนิ่นช้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 597 ไม่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ก. แจ้งแก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ให้มารับเงินแทนว่าจะหักเงินค่าปรับจากเงินค่าจ้าง ถือว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก. ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 แล้วจำเลยผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์ได้ บทความที่น่าสนใจ-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร -การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ -คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ -ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้ -ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร -ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ -หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่ -การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด -ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่ -ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร -คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว -การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่
|